ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟแวร์คอมพิวเตอร์
ความหมายของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานของคนทำงานได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีเพียงเฉพาะตัวอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์อยู่เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำงานได้เป็นได้เพียงวัตถุชิ้นหนึ่งเท่านั้น
การที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้นั้น
จำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ในการสั่งให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
สำหรับในที่นี่จะกล่าวถึงการแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์
ลักษณะย่อยของซอฟต์แวร์แต่ละประเภท การจำแนกประเภทของซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งาน
และการพิจารณาซอฟต์แวร์ตามหลักของลิขสิทธิ์
ประเภทของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เป็นชุดคำสั่งที่บุคคลพัฒนาขึ้นเพื่อสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำงาน
สำหรับการจำแนกตามลักษณะเป้าหมายในการใช้งานหลักๆ แล้ว สามารถจำแนกออกได้เป็น 2
ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
(System Software) หมายถึง
ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
และสนับสนุนให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ทำงาน
ตามที่บุคคลต้องการจริง เช่น การพิมพ์งาน การตัดแต่งภาพ เป็นต้น
การจำแนกประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
เมื่อกล่าวถึงซอฟต์แวร์ระบบ
คนส่วนใหญ่
มองเพียงระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เท่านั้น
แต่ความจริงแล้ว ซอฟต์แวร์ระบบสามารถจำแนกเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน
1. ระบบปฏิบัติการ
(Operating System) เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
โดยจะทำการควบคุมการทำงานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เช่น การเปิด-ปิดเครื่อง เป็นต้น
รวมถึงการติดต่อกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้งานสั่งการ
2. ซอฟต์แวร์แปลภาษา
(Translator) โดยปกติซอฟต์แวร์ประยุกต์
ที่ใช้งานกันสามารถที่จะพัฒนาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย
ซึ่งจะมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ แต่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น
จะเข้าใจเฉพาะในลักษณะคำสั่งเลขฐานสอง
แทนชุดคำสั่งแต่ละตัวหรืออาจเรียกว่าภาษาเครื่อง
ดังนั้นเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจในภาษาต่างๆ ที่มนุษย์พัฒนาขึ้น
จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์แปลภาษา จึงจะเกิดการติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคำสั่งที่เป็นภาษามนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
3. ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์
(Utility Software) เป็นซอฟต์แวร์ระบบลักษณะหนึ่ง
ที่ทำหน้าที่เสริมให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
โดยมีประสิทธิภาพนอกเหนือจากการใช้งานปกติ เช่น การจัดการพื้นที่ในการเก็บข้อมูล
ตามปกติแล้วฮาร์ดดิสก์จะเก็บข้อมูลเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ
ถึงแม้จะมีการลบข้อมูลบางอย่างไป
ก็ยังทำการบันทึกเพิ่มเรียงต่อไปในจุดที่ว่างไม่ได้
ทำให้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลลดลง ดังนั้นจึงต้องมีการใช้โปรแกรมในการจัดการพื้นที่
โดยนำข้อมูลมาจัดเรียงใหม่ ทำให้ได้พื้นที่เพิ่มเติมกลับมา หรือการป้องกันไวรัสเข้ามาในเครื่อง
ซึ่งการกำจัดไวรัสในเครื่องมิใช่งานที่บุคคลจะต้องสนใจเป็นหลัก
แต่การใช้งานปกติบางครั้งจะเกิดปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามารบกวน
ดังนั้นจึงต้องมีโปรแกรมต่อต้านไวรัสคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจกรอง ป้องกัน
และกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ที่เข้ามารบกวนการทำงาน เป็นต้น สำหรับในที่นี้
จะเน้นการศึกษาในส่วนของระบบปฏิบัติการเป็นหลัก
ระบบปฏิบัติการ
การทำงานของระบบปฏิบัติการนั้น
มีหน้าที่สำคัญในการดูแลการทำงานของผู้ใช้งาน
ทำให้สามารถติดต่อกับฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และควบคุมการทำงานส่วนประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผล หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผลข้อมูล
สำหรับกรณีการดูแลการติดต่ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นั้น
จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีหลากหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีหลากหลายผู้ผลิต การที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ
ที่ผลิตจากคนละบริษัทนั้น จะมีความยุ่งยาก เช่น
ถ้าหากผู้ใช้ต้องการให้เครื่องอ่านซีดี เปิดออก และอ่านแผ่นซีดี
ถ้าหากไม่มีระบบปฏิบัติการแล้ว
ผู้ใช้ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาคำสั่งที่จะติดต่อกับเครื่องอ่านซีดีนั้น
ให้เปิดถาดอ่านซีดีออก และคำสั่งที่ทำให้เกิดการอ่านข้อมูลจากแผ่น เป็นต้น
หรือในกรณีการใช้งานทรัพยากร เช่น หากผู้ใช้ต้องการให้หน่วยประมวลผล
ดำเนินการประมวลผลข้อมูล ก็จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการเรียกใช้งานในการทำงานอีก
เป็นต้น ดังนั้นถ้ามีระบบปฏิบัติการก็สามารถที่จะลดภาระเหล่านี้ของผู้ใช้งานได้
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปนั้น
ถ้าหากใช้หลักการความสามารถของการทำงานในหนึ่งช่วงเวลามาจำแนก ก็สามารถแบ่งได้เป็น
แบบงานเดียว (Single
Task) หมายถึง ในหนึ่งช่วงเวลาสามารถทำงานได้เพียงงานเดียว
แบบหลายงาน (Multi
Task) หมายถึง ในหนึ่งช่วงเวลาสามารถทำงานได้หลายงาน
นอกจากนั้นแล้ว ยังจำแนกได้จาก
จำนวนผู้ใช้งานในหนึ่งช่วงเวลา ได้แก่
แบบผู้ใช้คนเดียว (Single
User) หมายถึง ในหนึ่งช่วงเวลา
ระบบปฏิบัติการสามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้ได้เพียงคนเดียว
แบบผู้ใช้หลายคน (Multi
User) หมายถึง ในหนึ่งช่วงเวลา ระบบปฏิบัติการสามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้ได้หลายคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น